วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

การสรุป วิเคราะห์แนวปฏิรูปการเรียนรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

มาตรา ๒๒ แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด สามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ

มาตรา ๒๓ การศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญในเรื่องคุณธรรม กระบวนการและสามารถบูรณาการในแต่ละระดับการศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับตนเอง มองเห็นตนเองในสังคมครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก มีความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีทักษะด้านคณิตศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนำไปใช้ในการรักษาทรัพยากรให้มีอย่างยั่งยืน มีความรู้ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมไทย และภูมิปัญญาไทย ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง และที่สำคัญคัญให้นำทักษะที่เกิดขึ้นไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียนฝึกทักษะ กระบวนการให้เกิดการคิดเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงและแก้ปัญหากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง มีการปฏิบัติให้ คิดเป็น ทำเป็น มีนิสัยรักการอ่าน จัดการเรียนการแบบบูรณาการความรู้ต่างๆ ให้สมดุลกัน ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการจัดสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยสื่อต่างๆ และแหล่งความรู้อื่นๆ ให้พึงระลึกว่าความรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ต้องอาศัยความร่วมระหว่างบ้านและสถานศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน

มาตรา ๒๕ รัฐให้การส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น และแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ

มาตรา ๒๖ สถานศึกษามีการวัดและประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา

มาตรา ๒๗ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและเพื่อการศึกษาต่อ สถานศึกษาต้องจัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์และความต้องการของชุมชนและสังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ มุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม
และความรับผิดชอบต่อสังคม

มาตรา ๒๙ สถานศึกษามีการร่วมมือกันกับ ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้ชุมชน มีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับ
สภาพปัญหาและความต้องการ

มาตรา ๓๐ สถานศึกษามีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา


กล่าวคือ แนวการจัดระบบการศึกษา มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้รู้จักตนเอง ให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพตามความต้องการและความถนัดของผู้เรียน สามารถแก้ปัญหาในการดำรงชีวิต เป็นพลเมืองที่ดีของครอบครัว สังคม ประเทศ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยนำความรู้ที่ได้ไปใช้พัฒนาและรักษาทรัพยาการให้มีอยู่อย่างยั่งยืน ผู้เรียนต้องมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการจัดสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพียงพอพอต่อผู้เรียน มีความรู้ในในประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย ภูมิปัญญาไทย ระอบการเมืองการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สถานศึกษามีความร่วมมือกันระหว่างบ้านและสถานศึกษา ตลอดจนชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้ชุมชน มีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับ สภาพปัญหาและความต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น