วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Benchmark " The Nature of Science"

ด้าน The scientific worldview
ปลายเกรด 5 ผู้เรียนจะต้องทราบ

• บางครั้งการตรวจสอบที่มีลักษณะที่คล้ายกันๆ ผลที่เกิดก็จะแตกต่างกัน เพราะความแตกต่างในสิ่งที่ถูกสอบสวน วิธีการที่ใช้ หรือกรณีที่การสอบสวนจะดำเนินการและบางครั้งเพราะเกิดจากความความไม่แน่นอนในการสังเกต
• วิทยาศาสตร์คือการพยายามคิดวิธีการทำงาน โดยการสังเกต และพยายามทำให้ความรู้สึกของผู้สังเกต
• วิทยาศาสตร์คือการผจญภัยที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้
• การสื่อสารเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินการวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้แจ้งสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับงานของพวกเขา ในการเผยแพร่ ความคิดของการวิจารณ์และแลกเปลี่ยนกับนักวิทยาศาสตร์คน อื่น ๆ เกี่ยวกับค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
• วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องสัมพันธ์เกี่ยวกับระบบการทำงานของเพศ วัย และภูมิหลัง
• ในสังคมมีหลายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเทคโนโลยีมีรูปทรงตามความรู้ทางวิทยาศาสตร์

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Nature of science

•วิทยาศาสตร์ต้องการหลักฐาน (Science Demands Evidence)

•วิทยาศาสตร์คือการบรูณาการตรรกะและจินตนาการเข้าด้วยกัน (Science Is a Blend of Logic and Imagination)

•วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายและทำนายปรากฎการณ์ต่างๆได้ (Science Explains and Predicts)

•นักวิทยาศาสตร์พยายามหาหลักฐานเพื่อสนับสนุนการอธิบายปราฏการณ์ต่างๆ โดยไม่มีอคติ (Scientists Try to Identify and Avoid Bias)

•วิทยาศาสตร์มีอิสระและไม่ได้เกิดจาการบังคับ (Science Is Not Authoritarian)

•ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและ
ตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ

•มนุษย์สามารถทำความเข้าใจโลกได้ (The World Is Understandable)

•ความรู้วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ยอมรับได้ในช่วงเวลาหนึ่ง (Scientific Knowledge Is Durable) วิทยาศาสตร์ไม่สามารถให้คำตอบทุกอย่างได้ (Science Cannot Provide Complete Answers to All Questions

• เข้าใจถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่าง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสังคม และ สิ่งแวดล้อม

•วิทยาศาสตร์คือกิจกรรมทางสังคมที่ซับซ้อน (Science Is a Complex Social Activity)

•วิทยาศาสตร์จำแนกได้หลายสาขาวิชาและนำไปใช้ในสถาบันต่างๆมากมาย (Science Is Organized Into Content Disciplines and Is Conducted in Various Institutions)

•การนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ต้องคำนึงถึงศิลธรรม (There Are Generally Accepted Ethical Principles in the Conduct of Science)

•นักวิทยาศาสตร์ต้องมีส่วนร่วมในสังคมทั้งในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นพลเมืองคนหนึ่ง (Scientists Participate in Public Affairs Both as Specialists and as Citizens)

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

What is inquiry-based learning

อะไรคือกระบวนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
การเรียนแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญ สามารถแก้ปัญหาได้ จนทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่

กระบวนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นการแสวงหาความจริงหรือความรู้ ซึ่งความรู้จะเกิดได้โดยการ “ถาม” โดยมีกระบวนการเรียนรู้นี้เกิดได้ตลอดชีวิต ถึงแม้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะไม่ผลต่อการพัฒนา คนเราเริ่มมีความสารถที่จะเข้าใจสิ่งต่างๆ ใน โลก ด้วยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพื่อหาความจริง จากการสังเกตใบหน้าของคนที่เข้ามาใกล้ๆ และพยายามที่จะจับ หรือนำสิ่งต่างๆ ใส่ลงในปาก และส่งเสียงร้องออกมา(เพื่อแสดงออกซึ่งความคิดเห็น) ความก้าวหน้าของการสืบหาความจริงเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การรับรส และการรับกลิ่น

ความสำคัญของกระบวนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
กล่าวถึงข้อมูลและข่าวสารไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในโลก เพราะความจริงสามารถเปลี่ยนแปลงได้และข่าวสารที่มีอยู่ก็นำไปทำให้เกิดประโยชน์ได้เมื่อสามารถทำความเข้าใจได้อย่างดี นักการศึกษาต้องเข้าใจว่าสถานศึกษาต้องทุ่มเทให้กับการพัฒนาข้อมูลข่าวสารที่จะนำไปสู่การพัฒนา การพัฒนาของกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง คนจำนวนมากเข้าใจถึงธรรมชาติและความเป็นมนุษย์ ในการศึกษาค้นคว้าด้วยเอง ทำให้เกิดความก้าวหน้าที่ได้จากการอบรม เกิดทัศนคติที่ดีและสามารถใช้นำความรู้ไปใช้ได้ตลอดชีวิต ความพึงพอใจของของการฝึกปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญมาก และไม่มีใครสามารถเรียนรู้ได้ทุกอย่าง แต่ทุกคนสามารถที่จะพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นการฝึกอบรมเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษาสำหรับคนในสมัยปัจจุบันประสบการณ์และพรสวรรค์จะเป็นสำคัญเช่นกัน
ความรู้เป็นสิ่งสำคัญมากที่ถ่ายทอดให้ผู้อื่นผ่านองค์กรต่างๆ เช่น โรงเรียน ครอบครัว ซึ่งความรู้ที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคลจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ดีของผู้เรียนอันจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้แบบศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
1. มีแบบแผน เป้าหมายในในเริ่มต้น
2. มีความรู้ลึกซึ้งในโครงสร้างสาขาที่จะทำให้เกิดประโยชน์
3. มีความสามารถในการจัดเตรียมข้อมูลและปรับใช้ได้
4. สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้มาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ภายในระยะเวลาสั้นๆ

กระบวนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นทักษะพื้นฐานของการศึกษาของทุกคนและมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะในการศึกษานั้นเน้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นหลัก มีทักษะที่ดี ซี่งสามารถเรียนรู้ได้ด้วยการฝึกฝนและเสริมสร้างลักษณะนิสัยการเรียนรู้ด้วยตนเอง

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การสอนด้วยทฤษฎี Constructivist Learning Theory

อะไรคือสิ่งแรกที่ครูต้องทำ ?
สิ่งจำเป็นที่ครูต้องทำ เมื่อพิจารณาวิธีการสอนผู้เรียนซึ่งแต่ละคนไม่ได้เรียนในวิธีเดียวกัน แต่หมายความว่าครูควรเลือกวิธีการสอน (แนะนำวิธีการ, แบบท่องจำ, แบบสืบเสาะ) ซึ่งผู้เรียนอาจจะยังไม่มีการพัฒนา แต่ครูผู้สอนก็ไม่สามารถจะช่วยได้ทุกคน ที่เรียนในระดับเดียวกัน แต่อุปกรณ์เครื่องใช้ที่หลากหลาย ของรูปแบบการสอนในหลักสูตร สามารถให้ผู้เรียนมีโอกาสที่จะเรียนได้ดีที่สุด ในระดับชั้นประถมศึกษาพื้นฐานของการเรียนการอ่าน ซึ่งการอ่านเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการเรียน แต่ไม่ใช่ว่าผู้เรียนทั้งหมดจะทำได้ดี นักเรียนบางคนมีการตอบสนองดี แต่ก็บ่อยครั้งที่ทำให้เกิดไม่ความมั่นใจในการนำเสนอ เพราะในสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนมีความจำกัดที่ผู้เรียนจะสามารถถามได้หรือ ไม่สะดวกที่จะถามเมื่ออยู่ในชั้นเรียน
ผู้เรียนจะเรียนได้ดีเมื่อใด ?
“ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้เรียนเรียนได้ดีที่สุด” การเรียนที่ต้องมีการอธิบายจากผู้อื่นหรือจะเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งคนส่วนใหญ่จะมีทั้ง 2 กรณีนี้เกิดขึ้น ผู้เรียนส่วนใหญ่เชื่อว่า วิธีการเรียนที่ดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนทำด้วยตนเองแทนที่จะให้ผู้อื่นทำให้ ทฤษฎี Constructivist Learning Theory เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ หมายความว่า จากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน พูดง่ายๆก็คือผู้เรียนจะเรียนได้ดีขึ้นโดยความพยายามสามารถทำความเข้าใจด้วยตัวเอง ครูผู้สอนมีหน้าที่คอยชี้แนะให้ถูกทางเท่านั้น ซึ่งครูจะต้องมีความพยายามรวบข้อมูล แต่ไม่ใช่ว่าจะสามารถ “ใส่” ในสมองของผู้เรียนได้ทั้งหมด แต่การพัฒนาการของผู้เรียนจะเกิดขึ้นในโอกาสต่อไป เช่น เมื่อคิดจะทำอะไรบางอย่าง ในการบรรยายหน้าชั้นเรียน ก็ต้องมีการเตรียมตัวที่ดีด้วยตัวของเราเอง
ความรู้ของตัวเอง
วิธีการต่างๆ ของการเรียนคิดเป็น % ที่อธิบายค่าเฉลี่ยของจำนวนข้อมูลของผู้เรียน จะเป็นเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
1. การบรรยาย 5%
2. การอ่าน 10 %
3. การฟังและดู 20 %
4. การนำเสนอ 30 %
5. กระบวนการกลุ่ม 50 %
6. การปฏิบัติ 75 %
7. ให้ความรู้แก่ผู้อื่น 90 %
สังเกตได้จากการมีความรู้เดิมเป็นตัวช่วย ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปจะเป็นสิ่งดี แต่บางครั้งก็อาจเกิดความเข้าใจผิด และสามารถแก้ไขได้ ต้องอาศัยเวลาในการแก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่จะเกิดความรู้ใหม่
ข้อเสนอแนะสำหรับการด้วยด้วยทฤษฎี Constructivist Learning Theory
- มีความเป็นตัวของตัวเองเป็นจุดเริ่มต้น
- พยายามใช้ข้อมูลที่ได้มาและข้อมูลพื้นฐาน มีการจัดการกับเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ
- เมื่อมอบหมายงานให้ผู้เรียน ควรเน้นทักษะกระบวนการคิด ศัพท์เฉพาะทาง เช่น การจัดกลุ่ม การวิเคราะห์ การทำนาย และสร้างสรรค์
- วิธีการทำงานต้องตรงตามจุดประสงค์ ดูได้จากพฤติกรรมของครูผู้สอน กระตือรือร้นและความคิดรวบยอด
- หาข้อมูลของผู้เรียนและทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ ทางความคิดก่อนทำการสอน
- กระตุ้นให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- กระตุ้นให้ผู้เรียนวิจารณ์ความคิดและการสืบสวน โดยมีการกระตุ้นให้เกิดความคิดโดยการแลกเปลี่ยนกันเอง
- การตั้งคำถามจะพาไปสู่การให้ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อการเรียนรู้
- จัดให้ผู้เรียนอยู่ในสถานการณ์ที่ท้าทายความคิด และกระตุ้นให้มีการและเปลี่ยนความความซึ่งกันและกัน
- จัดเวลาให้เพียงพอสำหรับผู้เรียน เมื่อเริ่มเรียนรู้กับสิ่งใหม่

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

การสรุป วิเคราะห์แนวปฏิรูปการเรียนรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

มาตรา ๒๒ แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด สามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ

มาตรา ๒๓ การศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญในเรื่องคุณธรรม กระบวนการและสามารถบูรณาการในแต่ละระดับการศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับตนเอง มองเห็นตนเองในสังคมครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก มีความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีทักษะด้านคณิตศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนำไปใช้ในการรักษาทรัพยากรให้มีอย่างยั่งยืน มีความรู้ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมไทย และภูมิปัญญาไทย ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง และที่สำคัญคัญให้นำทักษะที่เกิดขึ้นไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียนฝึกทักษะ กระบวนการให้เกิดการคิดเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงและแก้ปัญหากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง มีการปฏิบัติให้ คิดเป็น ทำเป็น มีนิสัยรักการอ่าน จัดการเรียนการแบบบูรณาการความรู้ต่างๆ ให้สมดุลกัน ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการจัดสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยสื่อต่างๆ และแหล่งความรู้อื่นๆ ให้พึงระลึกว่าความรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ต้องอาศัยความร่วมระหว่างบ้านและสถานศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน

มาตรา ๒๕ รัฐให้การส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น และแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ

มาตรา ๒๖ สถานศึกษามีการวัดและประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา

มาตรา ๒๗ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและเพื่อการศึกษาต่อ สถานศึกษาต้องจัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์และความต้องการของชุมชนและสังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ มุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม
และความรับผิดชอบต่อสังคม

มาตรา ๒๙ สถานศึกษามีการร่วมมือกันกับ ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้ชุมชน มีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับ
สภาพปัญหาและความต้องการ

มาตรา ๓๐ สถานศึกษามีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา


กล่าวคือ แนวการจัดระบบการศึกษา มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้รู้จักตนเอง ให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพตามความต้องการและความถนัดของผู้เรียน สามารถแก้ปัญหาในการดำรงชีวิต เป็นพลเมืองที่ดีของครอบครัว สังคม ประเทศ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยนำความรู้ที่ได้ไปใช้พัฒนาและรักษาทรัพยาการให้มีอยู่อย่างยั่งยืน ผู้เรียนต้องมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการจัดสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพียงพอพอต่อผู้เรียน มีความรู้ในในประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย ภูมิปัญญาไทย ระอบการเมืองการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สถานศึกษามีความร่วมมือกันระหว่างบ้านและสถานศึกษา ตลอดจนชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้ชุมชน มีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับ สภาพปัญหาและความต้องการ

Constructivism Theory

Constructivism Theory ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการตีความหรืออนุมาน
การเรียนรู้แบบ Constructivism เป็นทฤษฎีที่ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกสร้างความรู้ใหม่ๆ โดยการใช้ประสบการณ์ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งเรียนรู้ได้จากความล้มเหลวและความผิดพลาด การเรียนรู้แบบนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้สอนโดยตรงเพียงอย่างเดียว หรืออีกกรณีก็คือเรียนรู้โดยการปฏิบัติ

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivist

การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา(Constructivism)
ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivist
ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivist เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องแสวงหาความรู้และสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง โดยนำความรู้ที่มีเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ โดยครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสรรค์สร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง เป็นการศึกษาทฤษฎีของธรรมชาติและความรู้นั้นเป็ทฤษฎีที่โต้เถียงและเกิดความรู้ที่มาจากประสบการณ์ของเขา ไม่ใช่ครู อาจารย์ที่เป็นผู้ให้ฝ่ายเดียว แม้ว่า ทฤษฎีนี้จะสร้างความสับสนอยู่บ่อยๆ ก็ตาม การเรียนการสอนที่พัฒนาแล้วเกี่ยวกับ Seymour Papert ที่ถูกดลใจและความคิดจากการทดลองเรียนของ Jean Piage ทฤษฎีของ Jean Piage มีอย่างกว้างขวางซึ่งมีผลต่อการเรียน วิธีการสอน ในการศึกษาและเป็นประเด็นหลักของการศึกษา การปฏิรูปกระบวนการ การวิจัยสอน ซึ่งทฤษฎีจะมีการบูรณาการผสมควบคู่กันไป